Illness name: ปวดหัว
Description: ปวดหัว (Headaches) หรือปวดศีรษะ เป็นอาการปวดที่เกิดขึ้นบริเวณศีรษะหรือคอส่วนบน ซึ่งเกิดจากเนื้อเยื่อและโครงสร้างรอบกระโหลกศีรษะหรือสมองเกิดการอักเสบหรือระคายเคือง จนทำให้เกิดอาการปวดขึ้น โดยอาการปวดอาจมาจากเส้นประสาทบริเวณหนังศีรษะ ใบหน้า ปาก และคอ กล้ามเนื้อของคอหรือไหล่ และหลอดเลือดที่ทำหน้าที่ส่งผ่านเลือดไปเลี้ยงสมอง อาการปวดหัวเป็นอาการที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย ซึ่งทุกคนต้องเคยมีอาการปวดหัวอย่างน้อยสักครั้งในชีวิต โดยในผู้ชายพบได้ประมาณ 90% และผู้หญิงพบได้ถึง 95% แต่อาการปวดหัวที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่มักไม่ได้มาจากโรคร้าย อาการปวดหัว อาการปวดหัวแต่ละประเภทมักมีลักษณะการปวดที่แตกต่างกันออกไป เช่น อาการปวดหัวไมเกรนเป็นการปวดตุบ ๆ ที่ศีรษะข้างใดข้างหนึง อาการปวดหัวจากกล้ามเนื้อเกร็งตัวจะมีอาการปวดเหมือนโดนบีบรัดค่อนไปทางขมับและหน้าผาก โดยมักปวดทั่วทั้งศีรษะ หรืออาการปวดคลัสเตอร์เป็นอาการปวดอย่างรุนแรงบริเวณเบ้าตาหรือด้านหลังตา ทั้งนี้ ความถี่และความรุนแรงของอาการปวดหัวจะเป็นไปตามสาเหตุของอาการปวดหัวแต่ละประเภท และตำแหน่งที่ปวดอาจเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของใบหน้า กะโหลก หรือทั้งศีรษะ สาเหตุของอาการปวดหัว เนื่องจากอาการปวดหัวมีมากมายจนยากต่อการวินิจฉัยและเลือกวิธีรักษาได้อย่างตรงจุด ทางสมาคมปวดศีรษะนานาชาติจึงได้กำหนดและแบ่งการปวดศีรษะตามสาเหตุออกเป็น 3 กลุ่ม การวินิจฉัยอาการปวดหัว แพทย์จะตรวจสอบประวัติทางการแพทย์ รายละเอียดของอาการปวดหัวที่พบ และการตรวจร่างกายทั่วไป จากนั้นจะพิจารณาการตรวจคัดกรองทางห้องปฏิบัติการอื่น ๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์และอาการของผู้ป่วย เช่น การตรวจเลือด การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณศีรษะ การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าบริเวณศีรษะ หรือการเจาะน้ำไขสันหลัง การรักษาอาการปวดหัว อาการปวดหัวมีทั้งแบบที่รักษาได้และไม่หายขาด โดยรักษาตามสาเหตุเป็นหลัก ซึ่งแพทย์จำเป็นต้องค้นหาสาเหตุที่แท้จริงให้พบก่อนรักษา และต้องดูปัจจัยอื่นของผู้ป่วยประกอบด้วย เช่น อายุของผู้ป่วย สุขภาพโดยรวมและประวัติทางการแพทย์ ระยะเวลาและความรุนแรงของอาการปวดหัว การตอบสนองต่อการรักษา หรือความต้องการของผู้ป่วย ผู้ที่มีอาการปวดหัวทั่วไปสามารถดูแลตนเองได้จากที่บ้านโดยพยายามพักผ่อนให้เพียงพอ หากิจกรรมทำแก้เครียด ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายเป็นประจำ รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน รับประทานยาแก้ปวดได้ในเบื้องต้น เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) หรือยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) แต่ไม่ควรซื้อยาแอสไพริน (Aspirin) รับประทานเองเพราะมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงสูง หากมีอาการปวดรุนแรงหรือปวดในลักษณะอื่นจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรรีบพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง ภาวะแทรกซ้อนของอาการปวดหัว อาการปวดหัวโดยทั่วไปแทบไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง ส่วนใหญ่จะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยบางรายอาจมีแนวโน้มเกิดภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ หรือปัญหาด้านจิตใจ อย่างไรก็ตาม อาการปวดหัวบางประเภทที่มีผลมาจากโรคหรือภาวะความผิดปกติอื่น ๆ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ตามสาเหตุนั้น ๆ การป้องกันอาการปวดหัว อาการปวดหัวป้องกันได้ยาก เนื่องจากมีหลายสาเหตุ แต่อาจเสี่ยงที่จะปวดหัวน้อยลงได้หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน เช่น พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อวัน รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวได้ง่าย โดยเฉพาะความเครียด ไม่ควรใช้ยาโดยไม่จำเป็นหรือใช้ยาเกินขนาด
ความหมาย ปวดหัว