Illness name: anorexia อะนอเร็กเซีย
Description: Anorexia (อะนอเร็กเซีย) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าโรคคลั่งผอม คือปัญหาสุขภาพจิตอย่างหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มโรคการกินผิดปกติ (Eating Disorders) โดยผู้ป่วยโรคนี้จะมีน้ำหนักตัวที่ต่ำกว่าเกณฑ์ กลัวน้ำหนักขึ้น รวมทั้งมีความคิดเกี่ยวกับน้ำหนักตัวและรูปร่างที่ผิดไปจากความเป็นจริง เนื่องจากผู้ป่วยให้คุณค่ากับการควบคุมน้ำหนักและรูปร่างมากเกินไป ส่งผลให้ใช้วิธีควบคุมน้ำหนักและรักษารูปร่างที่เสี่ยงต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการจำกัดปริมาณอาหารที่รับประทาน ล้วงคออาเจียนหลังรับประทานอาหาร ใช้ยาระบาย ยาลดน้ำหนัก หรือยาขับปัสสาวะ รวมทั้งหักโหมออกกำลังกาย เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและลดน้ำหนักต่อไปเรื่อย ๆ Anorexia ไม่ใช่โรคที่เกี่ยวเนื่องกับอาหาร แต่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยผู้ป่วยยึดพฤติกรรมดังกล่าวเป็นวิธีควบคุมสภาวะอารมณ์ที่เผชิญอยู่ ผู้ป่วยโรคนี้และโรคการกินผิดปกติโรคอื่นมักป่วยเป็นโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น โรคซึมเศร้า ใช้สารเสพติด โรควิตกกังวล หรือบุคลิกภาพแปรปรวนแบบก้ำกึ่ง (Borderline Personality Disorder) ทั้งนี้ ผู้ป่วย Anorexia ยังประสบภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับสุขภาพกายหลายอย่าง เช่น กระดูกพรุน โลหิตจาง รวมทั้งประสบปัญหาสุขภาพหัวใจขั้นร้ายแรงหรือไตวาย อันนำไปสู่การเสียชีวิต ผู้ป่วยโรคนี้มักปรากฏสัญญาณหรืออาการทางสุขภาพกายที่เกี่ยวกับลักษณะของคนที่อดอาหาร อย่างไรก็ตาม อาการป่วยของโรคนี้ยังเกี่ยวเนื่องกับอารมณ์ พฤติกรรม และความรู้สึก โดยอาการของโรค Anorexia แบ่งออกเป็นอาการของสุขภาพกาย และอาการทางด้านอารมณ์และพฤติกรรม ดังนี้ อาการของสุขภาพกาย อาการทางด้านอารมณ์และพฤติกรรม ผู้ป่วยโรค Anorexia จะปรากฏพฤติกรรมการลดน้ำหนักด้วยการจำกัดปริมาณอาหารที่รับประทาน อดอาหาร หรือหักโหมออกกำลังกายมากเกินไป ผู้ป่วยบางรายอาจล้วงคออาเจียนอาหารที่รับประทานเข้าไป หรือใช้ยาระบาย ยาสวนทวารหนัก ยาลดน้ำหนัก หรือผลิตภัณฑ์สมุนไพรอื่น ๆ เพื่อลดน้ำหนักและรักษารูปร่าง นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังมีสภาวะอารมณ์และพฤติกรรม ดังนี้ นอกจากนี้ ผู้ที่สงสัยว่าบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลรอบข้างอาจป่วยเป็น Anorexia อาจสังเกตได้ว่ามีพฤติกรรมที่เสี่ยงป่วยเป็นโรคนี้หรือไม่ โดยสังเกตว่าบุคคลเหล่านั้นมักงดรับประทานอาหารมื้อต่าง ๆ เลี่ยงที่จะไม่กินอาหาร หรือกินอาหารบางอย่างซึ่งมักเป็นอาหารที่มีไขมันหรือพลังงานต่ำ ชอบทำอาหารให้ผู้อื่นแต่ปฏิเสธที่จะกินเอง หรือมีพฤติกรรมการรับประทานที่เป็นรูปแบบ เช่น คายอาหารออกมาหลังจากเคี้ยวแล้ว หรือเลี่ยงการรับประทานอาหารต่อหน้าผู้อื่น ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจมีพฤติกรรมซ้ำ ๆ หรือแสดงถึงความกังวล เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดสัดส่วน ส่องกระจก หรือบ่นว่าอ้วนอยู่เป็นประจำ หากมีบุคคลรอบข้างที่เข้าข่ายลักษณะนี้ควรพาไปปรึกษาแพทย์ เนื่องจากโรคนี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพถึงชีวิตได้ ซึ่งผู้ป่วย Anorexia ไม่ต้องการรับการรักษาให้มีสุขภาพที่ดี แต่ต้องการลดน้ำหนักให้ผอมต่อไป สาเหตุของโรค Anorexia ยังไม่ปรากฏเฉพาะเจาะจง อย่างไรก็ตาม โรคนี้อาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นร่วมกัน ได้แก่ ยีนหรือพันธุกรรม สภาวะจิตใจ และสภาพแวดล้อม ดังนี้ แพทย์จะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเข้าข่ายป่วยเป็นโรค Anorexia หรือไม่ โดยเบื้องต้นจะซักถามคำถามทั่วไปเกี่ยวกับน้ำหนักตัวและพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น น้ำหนักตัวที่ลดลงในช่วงที่ผ่านมา ความรู้สึกหรือความกังวลเกี่ยวกับน้ำหนักตัว พฤติกรรมล้วงคออาเจียน ปัญหาประจำเดือนไม่มาหรือปัญหาเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร ผู้ป่วยต้องตอบคำถามเหล่านี้ตามความจริง เพื่อให้ประมวลผลออกมาได้อย่างแม่นยำ ทั้งนี้ แพทย์อาจตรวจด้านอื่น ๆ สำหรับประกอบการวินิจฉัย ดังนี้ การวินิจฉัยโรคทางจิตเวช (Diagnotis and Statistical Manual of Mental Disorders: DSM-5) กำหนดเกณฑ์ที่ระบุลักษณะของผู้ป่วย Anorexia ไว้ ดังนี้ ปัญหาสำคัญในการรักษาโรค Anorexia นั้น เกิดจากความคิดหรือเหตุผลของผู้ป่วยที่ต่อต้านการรักษา ได้แก่ คิดว่าไม่จำเป็นต้องเข้ารับการบำบัด กลัวว่าน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นมา รวมทั้งไม่ได้มองพฤติกรรมของตนเองเป็นอาการป่วย แต่เป็นลักษณะการใช้ชีวิตแบบหนึ่งเท่านั้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษา เนื่องจากการบำบัดและรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้มีสุขภาพดี รวมทั้งอาการของโรคไม่กำเริบขึ้นเมื่อต้องเผชิญภาวะเครียดรุนแรงหรือสถานการณ์กระตุ้นต่าง ๆ การรักษาโรค Anorexia ประกอบด้วยการรักษาที่ต้องให้คำปรึกษาในการบำบัด การรักษาด้วยยา และการดูแลสุขภาพและโภชนาการ เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่มีความซับซ้อน กลุ่มผู้ทำการรักษาจึงมีหลากหลาย ได้แก่ ผู้ให้คำปรึกษาพิเศษ จิตแพทย์ นักจิตวิทยา พยาบาลพิเศษ และนักโภชนาการ ทั้งนี้ อาจมีกุมารแพทย์หรือหมอเด็กเข้ามาร่วมทำการรักษาด้วยในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นเด็กหรือวัยรุ่น การรักษา Anorexia มีเป้าหมายช่วยให้ผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวกลับมาเป็นปกติ รักษาภาวะทางจิตอันเกี่ยวเนื่องกับรูปร่างของตัวเอง รวมทั้งทำให้ผู้ป่วยหายป่วยจากโรคดังกล่าวในระยะยาวหรือฟิ้นตัวได้อย่างเต็มที่ โรค Anorexia สามารถรักษาและบำบัดได้ด้วยวิธี ดังนี้ จิตบำบัด ผู้ป่วยโรค Anorexia จะได้รับการรักษาด้วยวิธีจิตบำบัดต่าง ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ โดยวิธีนี้มักใช้เวลารักษาอย่างน้อย 6-12 เดือน หรือมากกว่านั้น วิธีจิตบำบัดที่ใช้รักษา Anorexia มีดังนี้ วิธีเพิ่มน้ำหนัก แผนการรักษาโรคนี้จะครอบคลุมคำแนะนำในการรรับประทานอาหารเพื่อเพิ่มน้ำหนักตัวอย่างปลอดภัย โดยแพทย์จะให้ผู้ป่วยเริ่มรับประทานอาหารในปริมาณน้อย และค่อย ๆ เพิ่มปริมาณอาหารอย่างช้า ๆ เมื่อร่างกายปรับตัวได้แล้ว เนื่องจากการเพิ่มปริมาณอาหารเร็วเกินไปสามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยมีเป้าหมายให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 0.5 กิโลกรัม ผู้ป่วยเด็กหรือวัยรุ่นจะได้รับการตรวจอย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามผลการรักษาให้เป็นไปตามเป้าหมาย การเพิ่มน้ำหนักตัวจะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมารับประทานอาหารครบ 3 มื้อเป็นปกติ ยารักษา โรค Anorexia ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาเพียงอย่างเดียว แพทย์มักใช้รักษาควบคู่กับวิธีบำบัด โดยใช้ยาเพื่อรักษาภาวะทางจิตอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือโรคซึมเศร้า ยาที่ใช้รักษาผู้ป่วย Anorexia ได้แก่ ยากลุ่มเอสเอสอาร์ไอ และยาโอแลนซาปีน ดังนี้ การแพทย์ทางเลือก วิธีนี้ไม่ใช่วิธีรักษาตามหลักแพทย์แผนปัจจุบัน ยังไม่ปรากฏงานวิจัยเกี่ยวกับการรักษาโรค Anorexia ด้วยการแพทย์ทางเลือก อย่างไรก็ดี วิธีนี้อาจช่วยลดอาการวิตกกังวลลงได้ โดยทำให้ผู้ป่วยรู้สึกดีและผ่อนคลายมากขึ้น การแพทย์ทางเลือกที่ใช้รักษาอาการวิตกกังวล ได้แก่ การฝังเข็ม การนวด โยคะ และการนั่งสมาธิ ผู้ที่ต้องการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อให้ทราบและเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงจากการรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือกวิธีต่าง ๆ การรักษาปัญหาสุขภาพอื่น ผู้ป่วย Anorexia ที่เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ อันเป็นผลจากโรคดังกล่าว จะได้รับการรักษาอย่างอื่นร่วมด้วยตามกรณี ดังนี้ ผู้ป่วยโรค Anorexia ที่ไม่ได้รับการรักษาเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้หลายประการ ซึ่งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรงหรืออันตรายถึงขั้นเสียชีวิต ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่ไม่ได้มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานมากนักก็อาจเสียชีวิตกะทันหันได้ เนื่องจากเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะและระดับอิเล็กโทรไลต์ไม่สมดุล ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรค Anorexia แบ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับสุขภาพกาย และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับสุขภาพจิต ดังนี้ ภาวะแทรกซ้อนจากสุขภาพจิต นอกจากนี้ ผู้ป่วย Anorexia ที่ตั้งครรภ์ สามารถประสบภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ขึ้นมา ได้แก่ แท้งบุตร คลอดก่อนกำหนด ทารกมีน้ำหนักตัวต่ำ และอาจต้องเข้ารับการผ่าคลอด โรค Anorexia ยังไม่ปรากฏวิธีป้องกันแน่ชัด อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยโรคนี้สามารถรักษาได้ทันทีที่เริ่มป่วย การบำบัดและกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ดี รวมทั้งมีทัศนคติเกี่ยวกับอาหารและรูปร่างของตัวเองตามความเป็นจริงจะช่วยป้องกันไม่ให้อาการป่วยแย่ลง ทั้งนี้ ผู้ป่วยสามารถดูแลรักษาอาการของตนเองได้ ดังนี้ ผู้ป่วย Anorexia หรือผู้ที่มีบุคคลใกล้ชิดป่วยเป็นโรคนี้ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักบำบัดเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการรับมือสิ่งเร้าจากสื่อ วัฒนธรรม หรือสังคมรอบข้างที่กระตุ้นให้ผู้ป่วยลดน้ำหนัก รวมทั้งสมาชิกในครอบครัวและบุคคลรอบข้างผู้ป่วยควรให้กำลังใจผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การรักษาประสบความสำเร็จความหมาย อะนอเร็กเซีย (Anorexia)
อาการของอะนอเร็กเซีย
สาเหตุของอะนอเร็กเซีย
การวินิจฉัยอะนอเร็กเซีย
การรักษาอะนอเร็กเซีย
ภาวะแทรกซ้อนจากอะนอเร็กเซีย
ภาวะแทรกซ้อนจากสุขภาพกาย
การป้องกันอะนอเร็กเซีย