Illness name: bulimia บูลิเมีย
Description: Bulimia โรคบูลิเมียหรือโรคล้วงคอ เป็นโรคการกินผิดปกติที่อาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ เพราะผู้ป่วยจะรับประทานอาหารปริมาณมากตามด้วยการกำจัดอาหารที่เพิ่งรับประทานเข้าไปเพื่อไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น โดยมักทำให้ตนเองอาเจียน ออกกำลังกายอย่างหนัก ใช้ยาระบาย ยาขับปัสสาวะ รวมทั้งอาจอดอาหารและจำกัดปริมาณอาหารที่รับประทานด้วย ซึ่งโรค Bulimia เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่พบได้บ่อยในกลุ่มวัยรุ่นเพศหญิง ลักษณะอาการของผู้ป่วยโรค Bulimia มีดังนี้ ในทางการแพทย์ปัจจุบันยังคงไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรค Bulimia แต่โรคนี้อาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ร่วมกัน ดังนี้ ในขั้นแรกแพทย์จะตรวจร่างกายเบื้องต้น และอาจแนะนำให้ตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติมอย่างการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ รวมทั้งตรวจทางจิตวิทยา โดยแพทย์จะพูดคุยซักถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและทัศนคติที่มีต่ออาหาร นอกจากนี้ แพทย์อาจใช้เกณฑ์การวินิจฉัยโรคทางจิตเวช DSM-5 (Diagnotis and Statistical Manual of Mental Disorders) ประกอบการวินิจฉัยโรค Bulimia ร่วมด้วย โดยลักษณะของผู้ป่วยที่เป็น Bulimia มีดังนี้ ทั้งนี้ ระดับความรุนแรงของโรค Bulimia ขึ้นอยู่กับความถี่ของการกำจัดอาหารในแต่ละสัปดาห์ ซึ่งมีการจัดระดับความรุนแรงของโรค ดังนี้ กรณีที่ป่วยด้วยโรคล้วงคอเป็นเวลานาน ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติม เนื่องจากอาการของโรคอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ ในการรักษาโรค Bulimia นั้น อาจจำเป็นต้องใช้วิธีรักษาร่วมกันมากกว่า 1 วิธี ซึ่งการรักษาด้วยการฟื้นฟูสภาพจิตร่วมกับการใช้ยาต้านเศร้า และการให้ความร่วมมือกับแพทย์ นักจิตบำบัด เพื่อน และครอบครัว อาจเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาโรคนี้ โดยโรค Bulimia สามารถรักษาและบำบัดได้ ดังนี้ จิตบำบัด เป็นวิธีรักษาด้วยการพูดคุยบำบัดทางจิตกับผู้ให้คำปรึกษาพิเศษหรือจิตแพทย์ ซึ่งวิธีจิตบำบัดที่ใช้รักษาโรค Bulimia มีดังนี้ การใช้ยารักษา การใช้ยาต้านเศร้าควบคู่กับการพูดคุยบำบัดทางจิตอาจช่วยลดอาการของโรค Bulimia ได้ โดยยาที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรค Bulimia คือ ยาฟลูอ็อกซีทีน (Fluoxetine) ซึ่งเป็นยาต้านซึมเศร้าในกลุ่ม SSRI (Selective Serotonin Reuptake Inhibitors) โภชนศึกษา แพทย์และนักโภชนาการอาจช่วยวางแผนการรับประทานอาหารที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมามีน้ำหนักตัวเป็นปกติ มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ดี และได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังได้รับคำแนะนำในการลดน้ำหนักอย่างปลอดภัยอีกด้วย การรักษาในโรงพยาบาล แม้ว่าผู้ป่วยโรค Bulimia อาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเสมอไป แต่กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมากและมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาทันที การได้รับสารอาหารที่ไม่ครบถ้วน การล้วงคออาเจียน และการใช้ยาระบายเป็นประจำ อาจทำให้เสี่ยงเกิดภาวะขาดสารอาหารและภาวะแทรกซ้อนได้หลายประการ ดังนี้ การอยู่ในยุคที่สื่อต่าง ๆ เผยแพร่ค่านิยมความผอมและรูปร่างที่ผิดไปจากความเป็นจริงอาจทำให้วัยรุ่นหมกมุ่นอยู่กับมายาคติในการมีรูปร่างที่ดี ดังนั้น นักวิชาการและผู้ปกครองควรกระตุ้นให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อรูปร่างของตนเอง และทำความเข้าใจว่าการมีน้ำหนักที่เหมาะสมนั้นไม่จำเป็นต้องมีรูปร่างที่ผอมเสมอไป เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพและการเจ็บป่วยด้วยโรคนี้ความหมาย บูลิเมีย (Bulimia)
อาการของบูลิเมีย
สาเหตุของบูลิเมีย
การวินิจฉัยบูลิเมีย
การรักษาบูลิเมีย
ภาวะแทรกซ้อนจากบูลิเมีย
การป้องกันบูลิเมีย