Illness name: หัวใจเต้นผิดจังหวะ
Description: หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) คือภาวะที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจทำงานผิดปกติหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในห้องหัวใจ ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เร็วเกินไปหรือช้าเกินไปทำให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร อาจพบอาการที่สามารถสังเกตได้ เช่น ใจสั่น เจ็บหน้าอก หายใจหอบ เหงื่อออกมาก วิงเวียน หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม เป็นต้น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะพบมากในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคหัวใจ หรือผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก และอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตันเพิ่มมากขึ้น การเต้นของหัวใจจะถูกควบคุมโดยเครื่องกระตุ้นหัวใจตามธรรมชาติที่เรียกว่า Sinus Node ที่อยู่บริเวณหัวใจห้องบนด้านขวา มีหน้าที่สร้างกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเต้นของหัวใจ กระแสไฟฟ้าจะเดินทางไปยังหัวใจห้องบนเพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อให้สูบฉีดเลือดเข้าไปในหัวใจ จากนั้นกระแสไฟฟ้าจะเดินทางต่อไปยังสถานีส่งสัญญาณที่เรียกว่า Atrioventricular Node ก่อนส่งกระแสไฟฟ้าไปยังหัวใจห้องล่างทำให้เกิดการบีบตัวจากบนไปล่างอย่างสม่ำเสมอ และสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมีหลายรูปแบบ แบ่งประเภทได้ดังต่อไปนี้ อาการของหัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับประเภท ความรุนแรง หรือความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ บางรายอาจไม่พบอาการหรือความผิดปกติใด ๆ แต่บางรายอาจมีอาการที่สังเกตได้ เช่น ผู้ที่มีอาการข้างต้นอาจไม่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจเต้นผิดปกติเสมอไป แต่หากมีอาการเกิดขึ้นอย่างกะทันหันหรือเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อวินิจฉัยและหาสาเหตุของอาการต่อไป สาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น การวินิจฉัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการของผู้ป่วย ประวัติทางการแพทย์ และการตรวจร่างกาย เพื่อตรวจสอบจังหวะการเต้นของหัวใจเบื้องต้น หรืออาจทดสอบเพื่อหาปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น โรคหัวใจ ปัญหาการทำงานของต่อมไทรอยด์ เป็นต้น โดยแพทย์อาจมีแนวทางในการวินิจฉัยดังต่อไปนี้ การรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หากไม่ได้อยู่ในภาวะเสี่ยงต่ออาการที่มีความรุนแรงมากขึ้นหรือความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจยังไม่จำเป็นต้องรักษา ทั้งนี้แพทย์จะพิจารณาตามสาเหตุ อาการ ตำแหน่ง และความรุนแรงของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยแพทย์จะมีแนวทางในการรักษาดังต่อไปนี้ ภาวะแทรกซ้อนของหัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น การป้องกันหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางประเภทป้องกันได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เพียงปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้ความหมาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ